Breaking News

9 UFABET101 UFABET350 Default Placeholder

บอร์ดคุ้มครองเด็กจังหวัดสมุทรสงคราม มีมติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ คุ้มครองนำเด็กที่เหลือออกจากมูลนิธิบ้านครูยุ่นทั้งหมด และมีมติไม่ต่ออายุใบอนุญาตมูลนิธิ หลังสิ้นสุด ม.ค.66

เด็ก วันที่ 4 พ.ย. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยความคืบหน้าการคุ้มครองเด็กในมูลนิธิคุ้มครองเด็ก (บ้านครูยุ่น) อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ว่า ได้นำเด็กออกมาอยู่ในความคุ้มครองสวัสดิภาพของกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) แล้วจำนวน 29 คน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่เหลืออีกกว่า 20 คนส่วนใหญ่เป็นเด็กโตอยู่ระหว่างทำความเข้าใจ โดยทีมสหวิชาชีพ บางคนอาจจะยังติดพี่เลี้ยงไม่อยากออก ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ทั้งกับเด็ก พี่เลี้ยงผู้ดูแล ใช้วิธีมิติสังคม จิตวิทยาเข้าไปทำงาน ไม่ได้จู่โจมหรือทำให้เด็กหวาดวิตกนายอนุกูล ยืนยันว่า การทำงานเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ หลังประเมินพื้นที่มีความเสี่ยงก็เป็นอำนาจหน้าที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปคุ้มครองนำเด็กออกมาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยทันที อย่างไรก็ตาม มี 1 คนที่ผู้ปกครองประสานขอรับกลับดูแลเอง ส่วนที่ผู้ปกครองบางคนกังวลไม่รู้ว่าบุตรหลานถูกนำตัวไปอยู่ไหนนั้น เราทำงานประสานพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย ต้องดูแลเป็นรายเคส บางส่วนอาจจะไม่รู้ เพราะเราทำงานเป็นชั้นความลับด้วย ค่อยๆ ทำความเข้าใจ ต้องทำมิติหลังบ้านในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย จึงเป็นไปได้ว่าผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบ แต่รัฐรับประกันในบทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปคุ้มครอง เราก็ต้องรับผิดชอบ

นายอนุกูล กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย. มีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดสมุทรสงคราม

ข่าวเด็ก มีมติให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการคุ้มครองเด็กที่เหลือในการนำเด็กทั้งหมดออกมา และมีมติไม่ต่ออายุมูลนิธิคุ้มครองเด็กดังกล่าว เนื่องจากใบอนุญาตดำเนินการจะหมดอายุในเดือน ม.ค. 2566 หลังจากนี้ก็ต้องปล่อยให้สิ้นสภาพการเป็นสถานสงเคราะห์ที่ได้รับอนุญาต ส่วนการพิจารณาต่ออายุใหม่ก็ต้องนับหนึ่งเริ่มต้นใหม่ ต้องยื่นขอต่อใบอนุญาตใหม่ การพิจารณาอนุญาตเป็นอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาทั้งด้านกาย จิต สังคม เช่น ด้านสุขอนามัยสาธารณสุข ด้านสถานที่สิ่งแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการศึกษาและพัฒนาการเด็ก รวมถึงมีสหวิชาชีพเข้าไปร่วมพิจารณา เป็นคณะกรรมการระดับพื้นที่ประเมินก่อนจะเสนอขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เท่าที่ประเมินสภาพแวดล้อมสุขอนามัยในมูลนิธิฯ ดังกล่าวหลังจากที่ลงพื้นที่ก็เห็นว่า ต้องมีการปรับปรุงยกใหญ่พอสมควรเมื่อถามถึงกรณี นายมนตรี สินทวิชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี จะมีผลต่อการขอต่อใบอนุญาตหรือไม่ นายอนุกูล กล่าวว่า ต้องดูเกณฑ์คุณสมบัติเงื่อนไขการขอนุญาตดำเนินการของสถานสงเคราะห์เอกชน กรณีเป็นผู้จัดตั้งหรือเจ้าของว่า มีการกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่ แต่หากผู้ถูกกล่าวหาเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเด็ก ถือว่าหมดสภาพการเป็นเจ้าหน้าที่ เนื่องจากจะเป็นความเสี่ยงต่อเด็ก เมื่อถามถึงความเหมาะสมในการลงโทษเด็ก และการให้เด็กทำงาน นายอนุกูล กล่าวว่า ไม่ว่าจะลงโทษด้วยการตีแบบไหนเป็นสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก เพราะไม่ใช่เพียงบาดแผลทางกาย แต่ยังมีเรื่องสภาพจิตใจเด็กด้วย ส่วนการทำงานเพื่อหารายได้เสริมในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีไม่สามารถทำได้ กรณีเด็กอายุมากกว่า 15 ปี หากไปช่วยงานฝึกการทำงานมีค่าตอบแทน ก็ต้องดูที่เจตนาด้วย ด้าน นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวง พม. เปิดเผยว่า พม.ได้จัดเตรียมสถานที่ นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา รวมถึงพยาบาลเพื่อให้การดูแลเด็กและเยาวชนที่จะถูกส่งมาให้ พม. ดูแล ซึ่งได้มีการประเมินเบื้องต้น เพื่อให้การดูแลสอดคล้องกับช่วงอายุ ความผูกพันของเด็ก และความสัมพันธ์ทางสังคม โดยพบว่า เด็กบางรายมีภาวะความเครียด วิตกกังวล และมีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย และจะได้มีการสืบเสาะพินิจเพื่อนำมาประเมินสภาวะเด็กและครอบครัว วินิจฉัยเพื่อกำหนดแผนการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กรายบุคคล (IDP) ในระยะสั้นและระยะยาว โดยเด็กทุกคนจะมีพนักงานเจ้าหน้าที่ประสานกับทีมสหวิชาชีพ รวมถึงวางแผนช่วยเหลือเด็กร่วมกับครอบครัว หากไม่มีครอบครัวจะใช้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการวางแผนช่วยเหลือเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมรอบด้าน และฟื้นฟูจิตใจต่อไป

แนะนำข่าวเด็ก อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : รมช.ศธ. สั่งสถานศึกษาเข้มงวดความปลอดภัยเด็ก เซ่นเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู

Share Article: